วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ



แบบฝึกหัดท้ายบทที่
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 1.ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ทั่วไปประกอบด้วย

1) ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) คอมพิวเตอร์ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนั้นการประมวลผลจึงมีการทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ถูกกำหนดไว้

2) ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์มีกาารประมวลผลงานด้วยความเร็วสูงจึงมีความจำเป็นมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน

3) ความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีความผิดพลาดน้อยที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้อง

4) ความน่าเชื่อถือ (Reluability) ในปัจจุบันนี้มีฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลงและแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง

5) การจัดเก็บข้อมูล (Storage capability) คอมพิวเตอร์มีหน่วยเก็บข้อมูลเฉพาะเป็นของตนเอง ช่วยให้การจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลเป็นไปได้โดยสะดวกมากขึ้น

6) ทำงานซำ้ๆได้ (Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถคำนวนหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะซำ้ๆแบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า-ออก เป็นต้น

7) การติดต่อสื่อสาร (Communication) ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปมาก จึงมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็กๆหรือระดับเครือข่ายใหญ่ๆ


2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน
เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในยุคปัจจุบันและยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย


3.แท่งคำนวณของเนเปียร์(Napier's bone) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตชื่อ จอห์น เนเปีย ( John Napier)

การทำงานของ Napier’s Bone เมื่อต้องการคูณตัวเลขใด ๆ ก็จะเอาตัวเลขนั้น ๆ มาเรียงต่อกัน เช่น ต้องการเลข 46732 ก็จะนำเอาแท่งตัวเลข 4 6 7 3 และ 2 มาวางเรียงต่อกัน แล้วใช้แท่งดรรชนี ( Index) ซึ่งเป็นแท่งหลักที่ใช้ในการหาผลลัพธ์จากการคำนวณมาไว้ด้านหน้า จากนั้นนำมาเทียบเคียงให้ตรงกับตัวเลขนั้น ๆ แล้วทำการคูณและหาผลลัพธ์ได้เลย เช่น ต้องการคูณตัวเลข 46732 ด้วยเลข 3 ก็สามารถหาผลลัพธ์ได้ดังนี้

ตัวคูณ
ผลลัพธ์
3 คูณ 4 (หลักหมื่น)
1 2 0 0 0 0
3 คูณ 6 (หลักพัน)
1 8 0 0 0
3 คูณ 7 (หลักร้อย)
2 1 0 0
3 คูณ 3 (หลักสิบ)
9 0
3 คูณ 2 (หลักหน่วย)
6
ค่าตัวเลขที่ได้
1 4 0 1 9 6

4.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น


ตอบ."ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage)"เนื่องจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้งและได้อาศัยองค์ประกอบในการทำงานที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เสมือนกับต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน

5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ. ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ. เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ร่วมกับมอชลีและเอิคเคิร์ท ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายในได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก


7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ. เครื่อง UNIVAC (UNIVersal Automatic Computer) นำมาใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกาและมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตก่อนหน้านี้ และยังสามารถเก็บตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ในหน่วยความจำได้ถึง 12,000 ตัว


8.ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.  เหมือนกัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสุญญากาศมาก นอกกจากนี้ยังใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก็ยังมีต่างกันบ้างในเรื่องของหน่วยความจำ การทำงาน ความจุของข้อมูล และยุคที่พบเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์


9.E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานทะเบียนราษฎร์ของภาครัฐบาล เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆหรือทำบัตรประจำตัวประชาชน ตัวอย่างเช่น กรมทรัพยากร เปิดให้บริการยื่นแบบเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับประชาชนทั่วไป(E-Revenue) ซึ่งแต่เดิมต้องเสียเวลามากแต่ปัจจุบันสามารถที่จะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วทำรายการต่างๆได้ภายในไม่กี่นาที

10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ. เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการสำรองที่นั่ง การรับจองการเดินทาง โดยไม่ใช้แรงงานคนนั้นเอง อาจจะผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที

11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ. Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนฝึกทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้อีก และผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเข้าเรียนก็สามารถศึกษาในระบบดังกล่าวได้ ซึ่งสื่อแบบเดิมไม่สามารถทำได้

14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับ การเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันอย่างเช่น โน้ตบุ๊คและเดสก์โน้ต


15. PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ

ตอบ. เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาแบบใส่กระเป๋าได้เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องความจำต่างๆ การสร้างรายการนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ เป็นต้น


16.ภาษาธรรมชาติ(natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง

ตอบ. ภาษาธรรมชาติ คือ การนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น สามารถนำไปใช้ในการแยกแยะและวิเคราะห์คำสั่งเสียงที่ได้รับและทำงานตามที่สั่งการได้เอง


แบบฝึกหัดบทที่ 2

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ.    มี 4 ประเภท ได้แก่
-   ฮาร์ดแวร์    (Hardware)
-   ซอฟต์แวร์  (Software)
-   บุคลากร     (People)
-   ข้อมูล/สารสนเทศ    (Data/Information)

2. Data หมายถึง
ตอบ.   ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data)   ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)  ข้อมูลเสียง (Audio Data)   ข้อมูลภาพ (Images Data)  และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) 
      
3.Information  หมายถึง
ตอบ.   ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่างๆได้ สารสนเทสประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรุปภาพต่างๆ แต่จัดเนือเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

4. Input  Device  มีอะไรบ้าง
ตอบ.   เป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร ซึ่งอุปกรณ์ในการนำาข้าของข้อมูลมาตราฐาน ได้แก่
คีย์บอร์ด (keyboard)    สำหรับการป้อนข้อมุลประเภทตัวอักษร ตัวเลขหยรืออักขระพิเศษอื่นๆ
สแกนเนอร์ (scanner)    สำหรับการนำเข้าของข้อมุลประเภทภาพถ่าย บางรุ่นสามารถสแกนหรืออ่านอักขระบนหน้ากระดาษนั้น แล้วนำเอาไปพิมพ์จัดเรียงหรือเก์็บไว้ได้อีก
ไมโครโฟน (microphone)    สำหรับการนำเข้าข้อมูลประเภทเสียง

5.Output Device มีอะไรบ้าง
ตอบ.   เป็นผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลกลาง  (CPU/Processor) และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดง ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตราฐาน ได้แก่
-  มอนิเตอร์  (Moniter)  เป็นตัวแสดงผล ของการทำงานต่างๆที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์
-  ปริ้นเตอร์  (Printer)  เพื่อทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการ ประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักษร หรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ



                                แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์                                                                                                                         
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการเพื่อ  ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้เองตาม ท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เองเฉพาะกรณี  

2. ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
1) ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
    นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน  หรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งาน    ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
2) ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
     มุ้งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้หลายๆ คนนิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับ เครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมฯที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย
3) ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
     มักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ สมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ดี เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง

3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด จงอธิบาย
ตอบ. เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดย เฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถหลากหลาย ไม่ใช่โทรเข้า-ออกได้แต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถ ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเว็บรับอีเมล์และรับส่งแฟกซ์ได้
ในเวลาเดียวกันอีกด้วย

4. โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
 ตอบ. เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโปรแกรมนี้มันก็จะฟ้องขึ้น เราก็สามารถลบทิ้งได้ทันที เพื่อความราบรื่นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

5. นายต้องการเก็บข้อมูลหลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใดจงอธิบาย
ตอบ.  winrar เพราะ เป็นโปรแกรมที่เก็บไฟร์งานต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่มารวมกัน และ ทำให้ขนาดของไฟร์ที่รวมกันนั้นมีขนาดเล็กลง

6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ 3 โปรแกรม
ตอบ.    1)    Microsoft office Word
             2)    Microsoft office Excel
             3)    Microsoft office PowerPoint

7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร 
ตอบ. เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่าง ๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมกันทีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ Microsoft office, Adobe cs ฯลฯ ซึ่งมีการใช้งานง่ายและคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งยังมีราคาถูกลงกว่าการเลือกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้อีกด้วย

8. นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใด
ตอบ. ควรใช้โปรแกรม  Microsoft  Excel

9.Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ.    เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตามต้องการสามารถตอบโต้กันได้ด้วยข้อความและคนอื่นในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นด้วยพร้อมๆกันหมดเหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกการสนทนาเพียงรายคนได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ Instant Messaging อาจมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างจาก Internet Ralay Chat บ้างคือ มุ้งเน้นใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความตามที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า

10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ. เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์ หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงงานต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่าทำให้ผู้รับชมสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า

11. ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ.โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง
12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 รายการ พร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย                                                                                
 ตอบ. 1.www.google.com   มีหลักการทำงานคือสามารถค้นหาเรื่องต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วและมีการใช้งานกันมากที่สุด        
          2. http://www.hotmail.com/     มีหลักการทำงาน มีหลักการทำงานคือสามารถที่จะสื่อสารกันโดยมีความเป็นส่วนตัวมากและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
        3. www.youtube.com  มีหลักการทำงานคือสามารถทำให้รู้ข่าวสารต่างๆได้รวมทั้งสิ่งบันเทิง
13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการเว็บไซต์ เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงาน จงอธิบาย
ตอบ. dreamweaver เอาไว้ออกแบบหน้าเว็บ และก็เขียนโพสต์ และสร้างเว็บ java script เป็นสคริป ที่ใช้ใส่ลูกเล่นในเว็บ สามารถเขียนได้ในโปรแกรม dreamweaver flash เอาไว้สร้างเเอนนิเมชั่น พวกหัวเว็บphotoshop  เอาไว้ใช้งานรูปภาพ

14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ. คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือ
พัฒนาต่อได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ด ที่ได้มานั้นมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่หวังถึงค่าตอบแทนแต่อย่างใด

15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. ภาษาคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียงแค่หยิบและวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยผู้เขียนอาจจะรู้เพียงว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้าง ไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นจะคอยจัดการแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆ ได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียน โปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู้พื้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทันที

16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
ตอบ.  ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์มากขึ้นหรือเรียกว่า ภาษาธรรมชาติ ซึ่งทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้เพื่อช่วยแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ และทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและจดจำโครงสร้างนั้นไว้ได้ ซึ่งนิยมนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับสาขาปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น
1. การพัฒนาความรู้และการจำในหุ่นยนต์ โดยการสร้างความรู้และการจำไว้ในตัวหุ้นยนต์หรือเครื่องจักรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสั่งการให้ทำงานบางอย่างที่ต้องการ
 2. การสั่งงานโปรแกรมด้วยเสียง โดยจะอาศัยหลักการป้อนข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์หรือป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากขึ้น



 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

 ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและออกแบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2. ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
ตอบ เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไปแต่จะใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อมีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย
3. OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้
ตอบ เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ หรือชื่อเต็มว่าOptical Mark Reader มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ.โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระดาษคำตอบที่ออกแบบมาพิเศษ
4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีซี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสียมิได้ ความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆได้หรือไม่นั้นจึงล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น
5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
ตอบ สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้
แบบจานแม่เหล็ก
เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน (disk) ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร ที่รู้จักกันดี เช่น ฟล็อปปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์
แบบแสง
เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD และ DVD เป็นต้น
แบบเทป
เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
แบบอื่นๆ
เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น flash drive,thumb drive หรือ handy drive เป็นต้น อีกชนิดหนึ่งอาจพบเห็นในรูปของแผ่น memory cardเพื่อใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น
6. แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร
ตอบ พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื้นที่แนววงกลมรอบๆแผ่นจาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ละแผ่นจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์นั้น เป็นส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วนๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้วเซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆนั่นเอง
7. แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละ
เซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้
ตอบ ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytes
= 737,280 bytes
= 720 KiB (737,280/1024)
หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)
8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อมูลขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วยสำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านข้อมูลของดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่สำหรับการอ่านข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด
9. สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตอบ สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูลโปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง
10.Point Of Sale คืออะไร
ตอบ จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามาชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันที ซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ
11. งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใด  เครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้งเดียว คุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มาก อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกับแผ่นต้นฉบับ
12. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่าเนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบสีและขาวดำ



        แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

          ระบบปฏิบัติการและหลังการทำงาน

1. cross-platform application คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ. โปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายๆตัว ซึ่งทำให้การใช้งานมีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกันการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มหรือข้ามระบบปฏิบัติการได้ จึงเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้ได้ดีพอสมควร
2. device driver มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์
ตอบ. มีประโยชน์ในการช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายที่เชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ชนิดนั้นราบรื่นและสามารถทำงานได้อย่างไม่ติดขัด เมื่อถอด ย้ายหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใหม่อีก ก็สามารถใช้device driver นี้ติดตั้งเพื่อให้เครื่องอื่นๆรู้จักและติดต่อสื่อสารได้อีกเช่นกัน ปกติผู้ผลิตจะแนบตัวโปรแกรมเหล่านี้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์แล้วในครั้งแรก
3. เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้นเกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใด และเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
ตอบ. เกิดขึ้นในช่วงขั้นตอนที่เรียกว่า POST หรือ power on self test เพื่อตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด แรม ซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่นคีย์บอร์ดหรือเมาส์ โดยจะส่งสัญญาณเป็นเสียงสั้นยาวต่างกัน เมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น
4. ประเภทของการบู๊ตเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
1. โคลบู๊ต (cold boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
2. วอร์มบู๊ต (warm boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตารท์เครื่อง (restart)โดยมากจะนิยมใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
- กดปุ่ม C+a+d จากแป้นพิมพ์
- สั่งรีสตารท์เครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการได้เลย
5. จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานกับผู้ใช้แบบ Command line และแบบ GUI มาพอสังเขป
ตอบ. ส่วนประสานงานแบบ command line จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลคำสั่งด้วยตัวอักษรเพียงเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากต้องจดจำรูปแบบคำสั่งได้ดี สำหรับส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกหรือ GUI จะสนับสนุนการทำงานแบบรูปภาพคำสั่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งตัวอักษรเหล่านั้น ผู้ใช้เพียงแค่เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอ ก็สามารถสั่งการให้ทำงานได้ตามต้องการ
6. โครงสร้างแบบต้นไม้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไฟล์ในคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง
ตอบ. Treelike structure หรือโครงสร้างแบบต้นไม้ เป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลแบบลำดับชั้นนิยมใช้สำหรับการจัดการโครงสร้างไฟล์ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำโดยแยกออกเป็นส่วนๆเรียกว่า โฟลเดอร์ เหมือนเป็นกิ่งก้านและแตกสาขาไปได้อีก
7. ส่วนประกอบย่อยของไฟล์ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง จงยกตัวอย่างไฟล์มาอย่างน้อย 5 รูปแบบพร้อมทั้งอธิบายด้วยว่าแต่ละรูปแบบมีความหมายเช่นไร
ตอบ. ประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ ชื่อไฟล์ (naming files) และส่วนขยาย (extentions) ยกตัวอย่างไฟล์ 5 รูปแบบได้ดังนี้
1. myprofile.doc
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า myprofile นามสกุลหรือส่วนขยายคือ doc ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทเอกสารงานนั่นเอง (document)
2. report.xls
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า report นามสกุลหรือส่วนขยายคือ xls ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทตารางคำนวณพบเห็นได้กับการใช้งานในโปรแกรม Microsoft Excel
3. present.ppt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า present นามสกุลหรือส่วนขยายคือ ppt เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานนำเสนอข้อมูล สร้างจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint
4. about.htm
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า about นามสกุลหรือส่วนขยายคือ htm ซึ่งเป็นไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTMLที่ใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บเพจ
5. message.txt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า message นามสกุลหรือส่วนขยายคือ txt ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทข้อความ มักสร้างจากโปรแกรมประเภท editor ทั่วไป
8. หน่วยความจำเสมือนเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. หน่วยความจำเสมือนหรือ virtual memory จะเป็นหน่วยความจำที่ทำงานเหมือนกับ RAM โดยใช้เนื้อที่ส่วนของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า มาเก็บของส่วนงานทั้งหมดไว้เพื่อเอามาช่วยการทำงานของ RAM เมื่อต้องประมวลผลงานที่มากขึ้น โดยจะแบ่งงานที่มีอยู่ออกเป็นส่วนๆเรียกว่า page ซึ่งจะมีขนาดที่แน่นอน เมื่อใดที่ต้องการประมวลผล ก็จะเลือกเอาเฉพาะเพจที่ต้องการเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าข้อมูลใน RAM เต็ม จึงจะจัดการถ่ายเทข้อมูลดังกล่าวกลับไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้ RAM มีเนื้อที่เหลือว่างและทำงานต่อไปได้ ทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
9. spolling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ. หลักการจะอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านเข้ามาไว้ก่อนที่จะส่งไปที่เครื่องพิมพ์ เพราะการเก็บข้อมูลไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อนจะทำได้เร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์โดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกับการพิมพ์งานพร้อมกันทีเดียวในสำนักงานทั่วไป เพราะสามารถจัดคิวเพื่อส่งพิมพ์ผลลัพธ์ได้ตามลำดับก่อนหลัง
10. ระบบ plug and play คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน
ตอบ. เป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการบางตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ (plug)ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที (play)
11. multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ. เป็นการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้


แบบฝึกหัดบทที่ 6 

ข้อมูลและการจัดการข้อมูล

1. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี มีดังต่อไปนี้
- ความถูกต้อง (accuracy)
ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการประมวลผล จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น เพราะหากนำข้อมูลที่ผิดมาประมวลผล จะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการผิดพลาดตามไปด้วย
- มีความเป็นปัจจุบัน (update)
ข้อมูลซึ่งอยู่ช่วงเวลาหนึ่งในอดีต อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้กับอีกช่วงเวลาในปัจจุบันได้ การพิจารณาเลือกเอาข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
-ตรงตามความต้องการ (relevance)
ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ข้อมูลที่ถึงแม้จะถูกต้องมากแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือช่วยในการตัดสินใจใดๆได้
- ความสมบูรณ์ (complete)
ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผล บางครั้งอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จริงๆ ความสมบูรณ์นี้อาจหมายถึงข้อมูลนั้นต้องมีความครบถ้วนด้วย เช่น ในระบบงานบุคลากรหากเราสนใจเพียงแค่ข้อมูลของพนักงานเฉพาะวุฒิการศึกษาและความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับวันเกิดหรือเพศของพนักงาน กรณีที่นำเอาข้อมูลไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาบุคลากร อาจเอาไปใช้ได้อย่างไม่เต็มที่ เพราะบอกไม่ได้ว่าพนักงานแต่ละเพศหรือมีช่วงวัยที่ต่างกัน มีความสามารถที่แตกต่างกันจริงหรือไม่ (เพราะข้อมูลไม่มีความสมบูรณ์นั่นเอง)
- สามารถตรวจสอบได้ (verifiable)
ข้อมูลที่ดี ควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงต่างๆได้ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อการนำมาประมวลผล ข้อมูลที่ขาดการตรวจสอบหรือไม่มีความน่าเชื่อถืออาจเป็นกลลวงของคู่แข่งขัน หรือทำให้การประมวลผลได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ผิดตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลเสียหายในภายหลังได้
2. ข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่ มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สถาบันการศึกษา อาจพอยกตัวอย่างข้อมูลภายในได้ดังนี้
- จำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสถาบัน
ซึ่งสามารถแยกหรือหาข้อมูลย่อยๆได้อีกเช่น จำนวนนักศึกษาชาย จำนวนนักศึกษาหญิง จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เป็นต้น ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานด้านสถิติและทะเบียนนักศึกษาของสถาบันที่สังกัด
- หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษา ถือเป็นข้อมูลภายในเช่นเดียวกัน ซึ่งในหลายสถาบันอาจมีข้อมูลของหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น ชื่อหลักสูตร ชื่อปริญญา หรือรายละเอียดของหลักสูตรที่ใช้สอน เป็นต้น ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการที่กำกับดูแลด้านหลักสูตรโดยตรง
- คณะหรือสาขาวิชาที่มีอยู่
จำนวนคณะหรือสาขาวิชาในแต่ละสถาบันการศึกษา อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน เหมือนกับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร บางสถาบันอาจมีคณะเพียง 2-3 คณะ บางสถาบันอาจมีมากกว่านั้นได้ บางคณะอาจมีสาขาวิชาสังกัดอยู่เพียงไม่กี่สาขา แต่บางคณะอาจมีอยู่หลายสาขา สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการเช่นเดียวกัน
3.ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ คือ การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ขาย อาจประกอบด้วยเรคอร์ดของสินค้าหลายๆชนิดที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคาสินค้า และจำนวนที่ขายได้ เป็นต้น
4. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวลผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้ เช่นค่าเฉลี่ยคะแนนของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สามารถบ่งชี้หรือนำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติอีกได้ถือเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งอาจได้มาจากการเก็บรวบรวมคะแนนของนักศึกษาในแต่ละกลุ่มการเรียน(section) ที่ได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิ เป็นต้น
5.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์ (key field) เพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิด ซึ่งทำให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากกว่า คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ดที่ต้องการได้ ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา ฟีลด์รหัสสินค้า เป็นต้น
6. การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential file structure) ถือเป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานและสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ โปรแกรมจะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน จึงจะเรียกค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา
7. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง ไม่ต้องรอหรือผ่านเรคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ก็สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์
8. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง เพื่อให้ทุกฝ่ายหรือทุกหน่วยงานสามารถเลือกใช้ได้และยังทำให้ข้อมูลที่ใช้นั้นมีความตรงกัน และลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลลงไปได้ เช่น แต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้าของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าเกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็นค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ หากจะติดต่อกับลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้
9.ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่ ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันได้ กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น ทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อให้ตรงกัน จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก
10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DataBase Management Systems เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้ รมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง
11. ภาษาที่ใช้สอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านรูปแบบการใช้คำสั่งเฉพาะ เรียกว่าภาษาอะไร จงยกตัวอย่างของคำสั่งประกอบ
ตอบ ภาษาคิวรี่เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูลได้ ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ภาษา SQL ซึ่งเป็นคำสั่งภาษาที่นิยมใช้กันในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในปัจจุบันมากที่สุด ตัวอย่างของคำสั่งต่าง ๆ เช่น
- DELETE
ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
-INSERT
ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆเข้าไปในฐานข้อมูล
- SELECT
ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
-UPDATE
ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล

12. ความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS พอสรุปได้ดังนี้
-สร้างฐานข้อมูล
โดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน
- เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูล
ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์ดบางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น
- จัดเรียงและค้นหาข้อมูล
DBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ได้ เป็นต้น
- สร้างรูปแบบและรายงาน
การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

การวิเคราะห์และพัฒนาระบบ

1.จงอธิบายความหมายของระบบมาพอสังเขป

ตอบ.   ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกันและเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน

2.นักศึกษาคิดว่าระบบมีความสำคัญอย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ

ตอบ.   ระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับส่วนย่อยหรือองค์ประกอบอื่นหลายส่วน เช่น บุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการ วัสดุเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ หากไม่มีระบบในการทำงานก็จะทำให้ยุ่งยากมากขึ้นจากเดิม หรือทำไม่ได้เลย เช่น ระบบในร่างกายของเราจะต้องประกอบไปด้วยระบบเส้นประสาท ระบบขับถ่าย ระบบหายใจระบบไหลเวียนของโลหิต ฯลฯ


3.เหตุใดจึงต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ

ตอบ.      การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ระบบเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะนักวิเคราะห์ระบบต้องติดต่อกับคนหลายคน ได้รู้ถึงการจัดการและการทำงานในองค์การ ทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์หลายแบบมากขึ้น ผู้ที่สามารถวิเคราะห์ระบบได้ดี ควรมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรม มีความรู้ทางด้านธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายและฐานข้อมูล ซึ่งใช้เป็นความรู้ในการออกแบบระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปตาม สภาพงาน ดังนั้น หน้าที่ของนักวิเคราะห์ ก็คือการศึกษาระบบ แล้วให้คำแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนาระบบนั้นจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งการทำงานทั้งหมดต้องมีลำดับขั้นตอนและการศึกษาวิธีการวิเคราะห์และการออกแบบระบบในแต่ละขั้นตอน ทำให้เข้าใจการวิเคราะห์ระบบนั้นๆ ดียิ่ง และสามารถออกแบบระบบใหม่โดยไม่ยากเย็นนัก โดยสามารถตัดสินใจว่า ระบบใหม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ประเภทไหน ใช้โปรแกรมอะไร ออกแบบ Input/output อย่างไรเป็นต้น

4.นักวิเคราะห์ระบบคือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง

ตอบ.    คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้นๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆเป็นอย่างไรและอะไรคือความต้องการของระบบ

5.นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

ตอบ.   1.) มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น
2.) มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3.) มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4.) ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดในรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบ รวมทั้งองค์ ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ
5.) มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันก่อให้ เกิดผลเสียแก่องค์กร
6.) ต้องทำงานเป็นทีมได้อย่างดี
7.)มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่ม
8.) สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
9.) มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและ ตรงกัน
10.) มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11.) สามารถทำงานภายในภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย
12.) เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้
ได้ข้อมูลอย่างถูกต้อง
6.วงจรการพัฒนาระบบคืออะไร ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.    วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจรการพัฒนาระบบนี้จะทำให้เข้าใจถึงกิจกรรมพื้นฐานและรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนด้วยกัน
7.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) มีความสำคัญอย่างไร
ตอบ.    1.) ความต้องการที่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Functional Requirement)
1.1 คำบรรยายเกี่ยวกับการประมวลผลซึ่งระบบจะต้องทำ
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบ
1.3 รายละเอียดเกี่ยวกับผลลัพธ์
1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้ในระบบ
1.5 รายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุม
2.) ความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของระบบ (Non-Functional Requirement)
แต่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของระบบ ทำให้ได้มาซึ่งความต้องการที่เกี่ยวกับ
หน้าที่ของระบบ ได้แก่
2.1 เกณฑ์ในหารปฏิบัติงาน (Performance Criteria) เช่น เวลาในการตอบสนองในการแก้ไขข้อมูลในระบบ หรือ การรับข้อมูลจากระบบ
2.2 ปริมาณข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่จะต้องรวบรวม หรือเก็บไว้ในระบบ
2.3 ความปลอดภัยของระบบ
3.) ความต้องการเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งาน (Usability Requirement)
3.1 ลักษณะผู้ใช้ที่จะใช้ระบบ
3.2 งานที่ผู้ใช้จะต้องทำ รวมทั้งเป้าหมายที่เขาจะพยายามบรรลุ
3.3 ปัจจัย หรือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ระบบ
3.4 เกณฑ์ที่ยอมรับได้ ซึ่งผู้ใช้จะใช้ในการตัดสินเมื่อนำระบบไปใช้
 8.เทคนิคการรวบรวมข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ.      คือเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรายงานต่างๆแผนผังองค์กร แบบสอบถาม การสังเกต รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้องกับระบบเป็นต้น
 9. Gantt Chart คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ.     เป็นแผนภูมิแท่งชนิด Bar Chart อย่างหนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้ อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามารถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร
 10. Tester คือใคร มีหน้าที่อะไร
ตอบ .    คือ ผู้ทดสอบระบบ ทำหน้าที่ทดสอบระบบ เมื่อได้โปรแกรมหรือระบบตามที่พัฒนาโปรแกรมได้เขียนไว้แล้ว

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

การเขียนผังงาน

 1.  ผังงาน (flowchart) คืออะไร

ตอบ. ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า

2. อธิบายรูปแบบผังงานแบบเรียงลำดับ (sequence) แบบมีเงื่อนไข (decision) และแบบทำซ้ำ (loop)ตอบ. 1)การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้               
       2)การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
     3) การทำซ้ำ (Loop) คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
3. ขั้นตอนการทำงานซ้ำแบบ while…do และ do…until ต่างกันอย่างไร จงอธิบายตอบ.  while...do เป็นโครงสร้างที่มีการทดสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะเข้ามาทำงานในกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำ ซึ่งเรียกว่าการเข้าลูป หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นจริงอยู่ ก็ยังคงต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดไปที่อยู่ถัดจาก DO WHILE หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
        ส่วน do…until เป็นโครงสร้างการทำงานแบบทำงานซ้ำเช่นกัน แต่มีการทำงานที่แตกต่างจาก DO WHILE คือจะมีการเข้าทำงานกลุ่มคำสั่งที่อยู่ภายในลูปก่อนอย่างน้อย 1 ครั้ง แล้วจึงจะไปทดสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จก็จะมีการเข้าทำกลุ่มคำสั่งที่ต้องทำซ้ำอีก หลังจากนั้นก็จะย้อนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก ถ้าเงื่อนไขยังคงเป็นเท็จอยู่ ก็ยังต้องทำกลุ่มคำสั่งซ้ำหรือเข้าลูปต่อไปอีก จนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง จึงจะออกจากลูปไปทำคำสั่งถัดจาก UNTIL หรืออาจเป็นการจบการทำงาน
4.จงบอกประโยชน์ของผังงาน
ตอบ. 1.) ทำให้มองเห็นรูปแบบของงานได้ทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่มาก
         
 2.) การเขียนผังงานเป็นสากลสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้ทุกภาษา
         
3.) สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว
         
 4. )หากมีการพัฒนาระบบงานในลำดับต่อไป สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยศึกษาจากผังงาน จะสามารถศึกษาได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่ายกว่าการศึกษาจากโปรแกรม

แบบฝึกหัดท้ายบทที่9

 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1.นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือ ข่ายจึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถ ติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้  
2.ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆ เครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย  ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลไดช้าเพราะ  ข้อจำกัดของสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง และยากต่อการควบคุมดูแล เพราะมีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกัน ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูล อยู่เป็นต้น      
3.สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพรหลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
ตอบ. สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะมีราคาถูก และติดตั้งได้ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์มี 8 เส้น ตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญานรบกวน การเดิน- สายต้องจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ HUB เท่านั้น
4.จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย "ฟัง" ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญ- ญาณออกมาซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้น จากหลาย ๆ สถานีฟร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง "ฟัง" และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมกันผลก็คือสัญ-ญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอโดยนับถอยหลัง  ตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
5.จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ.  - Server
คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายมักมีหน้าที่และชื่อที่เรียกแตกต่างกันแล้วแต่การให้บริการ เช่น Mail server,File server,Web server  Pint server,Database server เป็นต้น
         - Client
 คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเมื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั้นเอง
6.HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยบย้ายสาย สลับเครื่องหรือ เพิ่มจำนานเครื่องได้ เนื่องจากสายทั่งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเรา  อาจทำเป็นตู้หรือห้องเพื่อไว้เก็บสายด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัวเช่น 5,8,10,16,24 พอร์ตหรือมากกว่านั้นเป็นต้น
7.จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet  ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
              - 1000Base-T
                  เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิมคือสาย UTP แบบ Category5
                  หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ HUB ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
              - Gigabit Ethernet
                  หรือเรียกกันเป็น 1000 Base-T (สาย UTP) หรือ 1000 Base-F (สาย Fiberoptic)สามารถ
                  ส่งข้อมูลได้ในระดับความเร็ว 1000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความ
                  เร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อสามารถรอง
                  รับงานจากเครื่องอื่นได้มากพร้อมกัน
              - 10 Gigabit Ethernet
                  เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ คือทำได้ถึง 10000 Mbps หรือ
                  10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมืองหรือ
                  WAN เป็นต้น
8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายโคแอกเชี่ยล
ตอบ. สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (Shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมักใช้กับเครือ
         ข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้อง
         มีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสาสยแบบอื่นที่มีราคา
         ถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า
9.จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Route
ตอบ. Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลาย
         ทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ Router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่าย
         อื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปแบบข้อมูลตามแบบ



แบบฝึกหัดท้ายบทที่10

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

1.Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
ตอบ. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้กับบุคคลหรือองค์กรสามารถ
         ใช้งานอินเทอร์ มีชื่อย่อว่า ISP โดยจะมีการเรียกเก็บค่าบริการทั้งแบบรายเดือนหรือแบบรายชั่วโมง
         สำหรับการเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องเชื่อมต่อเครืองข่ายของตนเองเข้ากับ
         ISP ก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต

2.จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ
ตอบ. อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ั่ทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนเครือข่าย
         ของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด นิยมใช้สำหรับการค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการ
         ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
3.เว็บเพจ และ เว็บไซท์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เว็บเพจ คือหน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่า
         HTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษา
         คอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น Dreamweaver,Frontpage,Golive
         เว็บไซท์ คือ แหล่งรวบรวมเอกสารเว็บเพจทั้งหลายให้รวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งาน
         สามารถเรียกค้นข้อมูลได้ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารเว็บเพจหลายๆหน้าที่เก็บไว้รวมกันไว้ที่เดียวกัน

4.จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
ตอบ. บริการ Chat
              - เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถพูดคุยกันสดๆ ระหว่างคนรู้จักในหมู่
                เพื่อนฟูงหรือคนที่ไม่เคยรู้จักรกันมากก่อน โดยมีเพียงที่อยู่อีเมลก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว
                สามารถรับ-ส่งไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือโปรแกรม MSN
         บริการโหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต
              - สามารถหาเพลงที่เราอยากฟัง ฟังได้อย่างง่ายดาย แค่เพียงเข้าเว็บบร์อดหรือกระทู้ที่มีการ
                แชร์ไฟล์เพลงไว้แล้ว ก็สามารถคลิ๊กดาวโหลดมาฟังได้ในทันที

5.หากต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ. ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ที่นิยมกันเป็นอย่างมากคือ
         ผ่านอุปกรณ์ Modem ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบธรรมดา แบบADSL หรือแบบไร้สายโดยต้องไป
         ขอสมัครเป็นสมัครเป็นสมาชิกหรือเลือกซื้อบริการจาก ISP เสียก่อน ซึ่งอาจคิดราคาค่าบริการที่
         แตกต่างกันออกไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้าไปยัง ISP ปลายทางเพื่อขอให้เปิดการเชื่อมต่อจึง
         จะสามารถใช้งานได้    
6.Modem คืออะไร
ตอบ. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณ
         อนาล็อก(Modulation) เพื่อวิ่งผ่านสื่อส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณ
         กลับให้เป็นสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม(demodulation)เมื่อข้อมูลถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง
7.เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNSมาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ. การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่
         การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที-
         สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆ
         Domain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการ
         แปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP addres ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น
         เพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง
8. โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษา
ยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
ตอบ. โปรแกรมเว็บราวเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูเอกสารบนเว็บไซร์ได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ
         นิ่ง เสียง วิดีโอหรืออื่นๆ ผู้ใช้งานเพี่ยงแค่พิมพ์หรือป้อนข้อมูลโดยระบุชื่อเว็บไซร์หรือ URL ที่ถูก
         ต้อง โปรแกรมดังกล่าวก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่นั้นมาแสดงผลให้เห็นบนจอภาพได้ ตัวอย่าง
         โปรแกรมที่รู้จักกันดี เช่น Internet Explorer , Nescape Communication , Opera และ Plawan
         เป็นต้น


                           แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 11 


 เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
ตอบ.  1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
          1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
          1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
          1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
          1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ

2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบตอบ.  สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึง
          ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถ
          นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น



3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายตอบ.    การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือ
          ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม
          และการสื่อสาร
            ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
          ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโน
          โลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
      
4.DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป

ตอบ.    digital accessible information system หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่
          ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อ
          มูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น


5.เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือ
ข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้

ตอบ.    เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
          อยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระ
          ราชกรณียกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
          คอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้    


6.จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ.   การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอด
          เงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที

7.Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง

ตอบ.    รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้
          เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อ
          ให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด

 

8. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง

ตอบ.    ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการ
          กำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่
          รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง
          ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

 

9.Telemedicine คืออะไร

ตอบ.     การแพทย์ทางไกล ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงาน
          ด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทาง
         และปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ
         คนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้น
         ของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น




แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 12   พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบมาอย่างน้อย 3 ช่องทาง

ตอบ. ช่องทางที่พบได้ในการนำมาใช้ทางการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
             - ระบบโทรศัพท์บ้าน
   ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุดคือ บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการจะแจ้งเบอร์หรือหมายเลขให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านโทรศัพท์ได้โดยตรง        
             - ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่   ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันโดยผู้ใช้สามารถเลือกทำรายการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านมือถือได้ด้วยตนเอง เช่น จองตั๋วภาพยนตร์หรือดาวน์โหลดริงโทนหรือโลโก้มือถือต่างๆ
             - ระบบอินเทอร์เน็ต   เป็นช่องทางการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นได้มากโดยเจ้าของร้านหรือบริษัท ผู้ผลิตจะทำเว็บไซท์เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้ลูกค้าเลือกซื้อบนหน้าเว็บนั้นๆได้เลยทันทีลูกค้าสามารถทำรายการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
2.จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ   B2C พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 เว็บไซต์
ตอบ. ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซท์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง (virtual store-front) เพื่อให้ลูกค้า เข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามายังร้านค้านั้นจริงๆ เมื่อพอใจหรือเลือกสินค้า เสร็จก็สามารถชำระเงินได้ทันที โดยมากมักเป็นสินค้าประเภทการจองที่พักโรงแรม การจองตั๋ว เครื่องบินโดยสารการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆเป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ เช่น
             - www.kwangham.com
             - www.hammax.com,www.toesu.com
             -
www.pamanthai.com
3.การประมูลสินค้าออนไลน์ จัดอยู่ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.   แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือ C2C เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่ผู้บริโภคด้วยกันเอง นำเอาสินค้าที่ต้องการประมูลมาเสนอหรือติดต่อเพื่อทำการค้าเองโดยตรง โดยปิดประกาศประมูลสินค้ากับเว็บไซท์ผู้ให้บริการเมื่อตกลงในรายละเอียดสินค้าและวิธีการชำระเงินก็สามารถจัด ส่งของให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้ทันที
4.วัตถุประสงค์ของ E-Government คืออะไร แตกต่างจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างบริการที่นักศึกษารู้จักมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง
ตอบ.   รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ electronic government เป็นการบริการของภาครัฐที่นำเสนอการให้ บริการกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองไม่ได้มุ่งเน้นหรือแสวงหากำ ไรเหมือน กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น
                - ระบบประตูสู่การบริการภาครัฐหรือ TGW (Thailand gateway)
                - บริการเสียภาษีของกรมสรรพากรผ่านเว็บไซท์
                - ระบบการตรวจสอบข้อมูลการเลือกตั้ง
5.Shopping cart คืออะไร จงอธิบายลักษณะการทำงานพอสังเขปตอบ.    โปรแกรมบนเว็บที่เขียนขึ้นเสมือนเป็นรถเข็นสินค้าจริงที่จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งาน หากอยากได้สินค้าชิ้นใด ลูกค้าสามารถคลิกเลือกกดปุ่มเพื่อจับใส่เข้าไปในรถเข็นนั้นได้จนกว่าจะพอใจแล้วทำการยืนยันการชำระเงินเพื่อออกจากระบบได้ เหมือนกับที่ไปเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเลือกและหยิบใส่รถเข็นจนพอใจแล้ว จึงค่อยมาชำระเงินตรงทางออก เป็นต้น
6.นักศึกษาคิดว่า เหตุใดจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยและจะใช้วิธีอะไรได้บ้าง
ตอบ.   เนื่องจากในระหว่างการทำธุรกรรมโดยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตนั้น อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัตรได้ โดยเฉพาะกับข้อมูล ที่สำคัญๆหากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจที่จะทำรายการซื้อขายผ่านเว็บไซท์นั้นๆได้ ผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซท์เอง จึงควรมีวิธีการป้องกันที่ดีพอโดยเลือกการเข้ารหัสข้อมูล ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ามีความปลอด ภัยในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทุกอย่างที่ทำธุรกรรมจะมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งข้อมูลไปบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ยากต่อการแกะหรือถอดข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
7.จงอธิบายลักษณะสินค้าแบบ hard goods และแบบ soft goods มาพอเข้าใจ
ตอบ.   แบบ Hard goods จะเป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ และต้องจัดส่งสินค้าโดยการใช้บริการของผู้ให้บริการขนส่งไปรษณีย์หรือพัสดุ แต่สินค้าแบบ soft goods มักเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้และโดยมากมักอยู่ในรูปแบบดิจิตอลเช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟท์แวร์ โลโก้หรือริงโทนมือถือ เป็นต้น
8. ท่านคิดว่าบริการหลังการขาย มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.    มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและแนะนำบอกต่อไปอีก มักนำไปใช้กับสินค้าที่มีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถเข้าใจได้ทันที โดยมีผู้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ บางบริษัทอาจมีศูนย์ช่วยเหลือลูกค้ามาช่วยในการดูแลลูกค้าหลังการขายสินค้าไปแล้ว
9.จงยกตัวอย่างวิธีการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ
ตอบ.    ตัวอย่างการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต เช่น
                - ชำระด้วยบัตรเครดิต   เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในขณะนี้ ผู้ใช้เพียงแค่ป้อนชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตรวันหมดอายุและรหัสบัตรส่วนที่อยู่ด้านหลัง ลงในแบบฟอร์มของทางร้านค้าหรือผู้ให้ บริการรับชำระเงินบนแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ แล้วทำการยืนยันการชำระเงินก็สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันที
                - ชำระด้วยเงินสดดิจิตอล  เป็นวิธีการที่นำมาทดแทนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยต้องจ่ายเงินจริงสำรองไปก่อน เพื่อแลกกับมูลค่าวงเงินที่จะใช้สำหรับซื้อสินค้า เมื่อต้องการจ่ายเงินก็สามารถจ่ายเงิน ตามวงเงินที่เหลือได้พอหมดก็ค่อยไปซื้อมูลค่าวงเงินนี้ใหม่
10. สินค้าประเภทซอฟต์แวร์มีวิธีการส่งมอบได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.   นิยมให้ลูกค้าทำการดาวน์โหลดได้เลย ซึ่งอาจมีการจำกัดหรือวางเงื่อนไขในการดาวน์โหลดได้เช่น จำกัดจำนวนครั้ง จำนวนวันหรือจำกัดทั้งสองรูปแบบ โดยใส่รหัสผ่านที่ได้รับจากผู้ขาย ปกติจะพยายามทำให้ขนาดไฟล์ดิจิตอลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์ บางประเภทหรือปรับขนาดให้เล็กลงเมื่อเป็นไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง เช่น อยู่ในรูปแบบของMP3เป็นต้น นอกจากนั้นอาจให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะดาวน์โหลดด้วยการเชื่อมต่อด้วยความเร็วแบบใดเป็นต้น


แบบฝึกหัดท้ายบทที่13 จริยธรรมและความปลอดภัย

1.จริยธรรมที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัว (information privacy) เกี่ยวข้องกับข้อมูลอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.     เกี่ยวข้องกับสิทธิและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น พฤติกรรมการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตของนัก
           ท่องเว็บคนหนึ่ง อาจถูกติดตามหรือเฝ้าดูกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อเอาข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อื่น
           หรือมีการเอาฐานข้อมูลส่วนตัวรวมถึงอีเมล์ของสมาชิกผู้ใช้งานบนเครือข่ายส่งไปให้กับบริษัท
           ผู้รับทำโฆษณาออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์หาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าผู้ใช้รายใดเหมาะกับกลุ่มสินค้า
           ที่จะโฆษณาประเภทไหนมากที่สุด จากนั้นจะจัดส่งโฆษณาไปให้ผ่านอีเมล์เพื่อนำเสนอขายสินค้า
           ต่อไป
2.จริยธรรมกับกฎระเบียบเกี่ยวข้องกันอย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.         จริยธรรมไม่ใช่ข้อบังคับหรือกฎที่จะมีบทลงโทษตายตัว เป็นเหมือนสามัญสำนึกหรือความ
           ประพฤติปฏิบัติต่อสังคมในทางที่ดี และขึ้นอยู่กับกลุ่มสังคมหรือการยอมรับในสังคมนั้นๆเป็นหลัก
           กล่าวคือจะเกี่ยวข้องกับการคิดและตัดสินใจได้เองว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด เป็นต้น
           ส่วนกฎระเบียบถือเป็นข้อห้าม โดยมีกรอบหรือรูปแบบที่ชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนหากทำผิดแล้ว
           อาจต้องมีบทลงโทษตามไปด้วย
                 จริยธรรมอาจเป็นบรรทัดฐานเพื่อสร้างกฎระเบียบที่ควรประพฤติปฏิบัติในสังคมร่วมกันได้
           โดยมีบทลงโทษหรือวางแนวทางไว้อย่างชัดเจน

3.จงยกตัวอย่างของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมทั้งหาวิธีป้องกันและแก้ไข โดยอธิบายประกอบตอบ.         ตัวอย่างเช่น การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์
           หนอนอินเทอร์เน็ต หรือการใช้สปายแวร์บางประเภทเพื่อติดตามข้อมูลของผู้ใช้ ซึ่งอาจทำให้เกิด
           ความเสียหายหรือเกิดความรำคาญในการใช้งานได้
                วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ในเครื่องที่ใช้งานด้วยเพื่อคอยเฝ้า
           ระวังไวรัสพวกนั้นเข้ามาทำร้ายเครื่องของเรา
       4.การหลอกลวงเหยื่อแบบ Phishing มีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ.  เป็นการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่สำคัญๆ เช่น รายละเอียดหมายเลขบัตรเครดิต
          ชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านในการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต โดยส่งอีเมล์หลอกไปยังสมาชิกหรือผู้ใช้
          บริการตัวจริงเพื่อขอข้อมูลบางอย่างที่จำเป็น โดยใช้คำกล่าวอ้างที่เขียนขึ้นมาเอง พร้อมทั้งแจ้ง
          URL ที่ต้องกรอกข้อมูลโดยมีปลายทางคือหน้าเว็บเพจที่ทำเลียนแบบกับระบบจริงให้เหยื่อตายใจ
          เพื่อกรอกข้อมูลและหลงเชื่อในที่สุด ซึ่งจริงๆแล้วคือ URL ของผู้ไม่ประสงค์ดีที่นั่นเอง เมื่อผู้ใช้
          ขาดความรอบคอบและเผลอคลิกป้อนข้อมูลส่วนตัวเข้าไป เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลดัง
          กล่าวก็จะถูกเก็บไว้และเอาไปใช้ในทางที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิกผู้นั้นได้5.BSA จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด และเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านใดมากที่สุด จงอธิบายตอบ.        เพื่อเป็นการควบคุมและดูแลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้
           ตะหนักถึงการใช้งานของโปรแกรมที่ถูกต้องและไม่ผิดกฎหมาย เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิว
           เตอร์ด้านการขโมยโปรแกรมหรือ software theft ซึ่งบริษัทใหญ่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ได้รับความเสีย
           หายเป็นอย่างมากจึงมีการรวมตัวขึ้นเพื่อตั้งเป็นหน่วยงานกำกับและดูแลโดยเฉพาะเรียกว่า BSA
           หรือ business software alliance

6.ข้อปฏิบัติที่ควรต้องทำในการป้องกันไวรัส มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ.            สิ่งที่ควรทำในการป้องกันไวรัส ยกตัวอย่างได้ดังนี้
            -  ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไว้ในเครื่อง
                      เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังไวรัสที่จะเกิดขึ้นใหม่ สามารถติดตั้งโปรแกรม
                      เหล่านี้ไว้ได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาต่างๆลงไปได้มากและบางตัวสามารถที่จะกำจัด
                      หรือซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหายได้ด้วย
            -  ไม่รับหรือเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากรายชื่อคนติดต่อแปลกหน้า
                       บางทีอาจมีไวรัสที่แพร่กระจายมาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ไม่ควรจะกดหรือ
                       เปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมาย เนื่องจากอาจเป็นโปรแกรมประสงค์ดีที่จะมาก่อ
                       กวนระบบของเราเอง หากไม่คุ้นควรลบทิ้งเสีย
            -  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆอยู่เสมอ
                       ในการติดตามและเฝ้าระวังเกี่ยวกับไวรัส ผู้ใช้งานควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสสาย
                       พันธ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบถึงการป้องกันและความรุนแรงของมันได้
            -  ควรดาวน์โหลดข้อมูลหรือไฟล์จากเว็บไซท์ที่น่าเชื่อถือ
                       เนื่องจากอาจมีโปรแกรมหรือไฟล์ที่แฝงตัวในรูปของโปรแกรมประสงค์ร้ายพ่วงมาให้
                       ใช้ด้วยนั่นเอง
            -  ไม่ควรแชร์หรือแบ่งปันไฟล์ในเครื่องให้กับผู้อื่นเกินความจำเป็น
                       เนื่องจากอาจะเป็นช่องโหว่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาโปรแกรมบางอย่างมาก่อกวนได้
                       หากต้องการแบ่งปันหรือแชร์ไฟล์ ควรมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงอย่างชัดเจน
7.การสำรองข้อมูลคืออะไร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ.       การทำซ้ำข้อมูล ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูล ประโยชน์คือ เราสามารถเอาข้อมูลต่างๆเหล่านั้น
          กลับมาใช้ได้อีกเมื่อข้อมูลต้นฉบับเกิดเสียหาย เช่น ฮาร์ดดิสก์เสียหรือถูกไวรัสคอมพิวเตอร์
          หากไม่มีการสำรองข้อมูลก็จะเกิดผลเสียตามมาได้
              วิธีการสำรองข้อมูลอาจทำทั้งระบบหรือเพียงแค่บางส่วน โดยเลือกใช้โปรแกรมยูทิลิตี้บาง
         ประเภทเพื่อสำรองข้อมูลเก็บลงสื่อบางประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า
         ข้อมูลมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
8.การป้องกันการทำซ้ำหรือละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.      วิธีป้องกันการทำซ้ำ อาจบันทึกข้อมูลซีดีซอฟท์แวร์แบบพิเศษ ซึ่งอาจใช้การเข้ารหัสข้อมูล
          บางอย่างเพื่อไม่ให้สามารถทำซ้ำได้โดยง่าย มีการใช้ serial number ซึ่งเป็นอักขระที่ต้องป้อน
          ก่อนการใช้งาน รวมถึงกำหนดสิทธิต่าง ๆ เช่น กำหนดว่าจะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้กี่เครื่อง
          หากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถใช้ได้ เป็นต้น
9.แฮกเกอร์และแครกเกอร์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.         แฮกเกอร์จะแอบลักลอบเข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่น เพียงเพื่อทดสอบความรู้ของตนเองเท่านั้น
           โดยเจตนาแล้วไม่ได้มุ่งร้ายต่อข้อมูลแต่อย่างใด ส่วนแครกเกอร์จะมีเจตนาที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
           ซึ่งจะสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่า
                แฮกเกอร์บางคนอาจเข้าไปหาจุดบกพร่องต่างๆของระบบเครือข่ายแล้วทำการแจ้งให้กับผู้
           ดูแลระบบด้วยว่า ระบบเครือข่ายนั้นบกพร่องและควรแก้ไขข้อมูลส่วนใดบ้าง แต่แครกเกอร์
           อาจนำเอาข้อมูลที่พบนั้นไปแก้ไข เพื่อจงใจให้เกิดความเสียหายโดยตรง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่ม
           บุคคลที่มีความร้ายแรงมากในยุคปัจจุบัน
10.ท่านคิดว่ากรณีที่มีการนำภาพลับเฉพาะของดาราและนำไปเผยแพร่บนเว็บไซท์นั้น ผู้กระทำขาด
จริยธรรมในด้านใด จงอธิบายพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
ตอบ.          ถือเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรมด้านความเป็นส่วนตัวได้ เนื่องจากผู้ที่โดนกระทำคือดารา
          ถูกละเมิดสิทธิโดยตรงซึ่งผู้เสียหายอาจไม่ต้องการให้นำภาพดังกล่าวออกเผยแพร่สู่สาธารณะ
          ชนได้ แต่กลับมีบุคคลบางกลุ่มนำออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำ
          เสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่แพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียแก่ดาราดังกล่าว
         ได้ซึ่งอาจนำมาสู่การฟ้องร้องและเป็นคดีความตามมาได้

                                             การบ้า

Software และ Technology

ให้นักศึกษาหาข่าวเกี่ยวกับ Software และ Technology มีฐานการผลิตที่ประเทศไหนบ้าง และผลิตเกี่ยวกับอะไร

     หลังจากมีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับงานแถลงข่าวอันลึกลับในวันนี้ ไมโครซอฟท์ก็ได้เผยความจริงออกมาด้วยการเปิดตัวแท็บเล็ตชื่อ Surface โดยมีสองรุ่น คือ รุ่น Windows RT และ Windows Pro รายละเอียดมีดังนี้

Surface for Windows RT
  • หน้าจอ 10.6 นิ้ว ClearType HD Display แบบ Gorilla Glass
  • ตัวเครื่องบางเพียง 9.3 มม. น้ำหนักรวม 676 กรัม
  • ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม ARM
  • รองรับ microSD, USB 2.0, Micro HD Video
  • มีขาตั้งมาพร้อมกับเครื่อง
  • มีสองรุ่นย่อย คือ 32GB, 64GB
Surface for Windows Pro
  • หน้าจอ 10.6 นิ้ว ClearType Full HD Display แบบ Gorilla Glass
  • ตัวเครื่องบางเพียง 13.5 มม. น้ำหนักรวม 903 กรัม
  • ใช้ซีพียูเจนเนอเรชั่นที่สาม Ivy Bridge ของอินเทล
  • มีปากกาเป็นอุปกรณ์เสริม (แน่นอน รองรับการอินพุทข้อมูลด้วยปากกา)
  • รองรับ microSDXC, USB 3.0, Mini DisplayPort Video
  • มีขาตั้งมาพร้อมกับเครื่องเช่นเดียวกัน
  • มีสองรุ่นย่อย คือ 64GB, 128GB
ไมโครซอฟท์ยังได้ทำแผงคีย์บอร์ดและทัชแพดเป็นอุปกรณ์เสริม โดยคีย์บอร์ดมีสองรูปแบบ คือ Touch Cover หรือคีย์บอร์ดแบบมัลติทัชที่หนาเพียง 3 มม. และ Type Cover หรือคีย์บอร์ดแบบปุ่มจริง (tactile) โดยแบบแรกนั้นมีหลายสีให้เลือก

ในเอกสารสเปคเครื่องที่ไมโครซอฟท์เผยแพร่ ได้ยืนยันว่าชุด Office นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Office 2013 โดยรุ่นที่มากับ Windows RT คือ Office Home & Student 2013 RT

อัพเดต ในเรื่องการวางจำหน่ายและราคานั้น ไมโครซอฟท์กล่าวแต่เพียงว่าบริษัทจะวางจำหน่าย Surface for Windows RT ช่วงเปิดตัว Windows 8 โดยมีราคาอยู่ในช่วงเดียวกับแท็บเล็ตรัน Windows RT จากผู้ผลิตรายอื่น ส่วน Surface for Windows Pro นั้นจะเป็นหลังจากการเปิดตัว Windows 8 ไป 3 เดือน โดยมีราคาอยู่ในช่วงเดียวกับอัลตร้าบุ๊ก

Surface for Windows RT

Surface for Windows 8 Pro



ภาพผ่าตัดภายในตัวเครื่องและคีย์บอร์ดตามลำดับ

Type Cover แบบมัลติทัช มีหลากสีให้เลือก

แท็บเล็ตพร้อม Type Cover แบบมัลติทัช

ความบางของ Type Cover แบบมัลติทัช
แท็บเล็ตพร้อม Type Cover แบบปุ่มจริง


การบ้าน

คำสั่ง:   ให้นักศึกษาบอกความหมายและความแตกต่างระหว่าง ทรัมไดร์ฟ  แฟลชไดร์ฟ   และ

              แฮนดี้ไดร์ฟ





1.   ทรัมไดร์ฟ

      ที่มาคำว่า Thumb drive
Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า  คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk  เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง  Port USB  และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือ ไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk   พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ   เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive  ความเร็วในการอ่าน เขียน  ประมาณ  500KB/Sec  มีความจุอยู่ระหว่าง  8 MB - 1024MB  ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น  สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย



2.   แฟลชไดร์ฟ
      ที่มาคำว่า Flash Drive
Flash Drive  มีชื่อจริงว่า  USB Mass Storage Device  ส่วนใหญ่เรียกกันว่า  USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory  หรือ  USB Flash Drive  การใช้งานเชื่อมต่อกับ   Computer   ผ่านทาง Port USB  ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล  ทำงานเป็น  Drive  เหมือน  HardDisk   อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้   ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก  Thumb drives  ราคาถูกลง  ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว  Flash Drive  เล็กลงด้วย  บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว

3.   แฮนดี้ไดร์ฟ
     ที่มาคำว่า Handy drive

Handy drive  เป็นชื่อทางการค้า  คุณสมบัติและการทำงานเหมือน  Flash drive  แต่ที่เพิ่มขึ้นมา คือสามารถเล่นไฟล์ Mp3  ไฟล์วีดีโอ  ไฟล์รูปภาพ  ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง  และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป   ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน  AA , AAA หรือถ่านชาร์จ   ซึ่งจะชาร์จถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม  แต่มีขนาดใหญ่กว่า  Flash drive  เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่  สำหรับราคาแพงกว่า  Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย